อุปกรณ์การเล่นบาสเกตบอล


1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)

1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่นเดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว

1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร

1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้
- เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส
- เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลังเป็นวัสดุอื่น
- เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
เพิ่มเติม หน้ากระดานเหนือห่วงให้เขียนดังนี้
เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมมฉากด้วยเส้นกว้าง 5 ซ.ม ตรงหลังห่วงประตู วัดริมนอกด้านขวางยาว 59 ซ.ม และด้านตั้งยาว 45 ซ.ม ริมบนสุดของเส้นด้านฐานอยู่ในระดับเดียวกับขอบห่วง

1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะต้องเรียบ

1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
- ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
- จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น

1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง

1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
- ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใส แตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมีแรงกระแทรก
- สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่างจากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
- สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูงจากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึดด้านข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร

1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด

2 ห่วงประตู (Baskets)  ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย

2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่ายด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่างเท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้องไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไปยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่นด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูงเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของกระดานหลัง

2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้

2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตูช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย

3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)
3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตามแบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน

3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์

3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่าง
ของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร

3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635 เซนติเมตร

3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78 เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม

3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้อง พิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมาใช้แข่งขันก็ได้

4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment)
อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่โต๊ะ
4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch)

  •      นาฬิกาแข่งขันจะต้องใช้สำหรับช่วงการเล่นและช่วงพักการแข่งขัน และจะต้องติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
  •      นาฬิกาจับเวลา (ไม่ใช่นาฬิกาแข่งขัน) จะต้องใช้สำหรับการจับเวลานอก
  •      ถ้านาฬิกาแข่งขันติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางเหนือสนามแข่งขัน ต้องมีนาฬิกาแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาแต่ละด้านของสนาม ด้านหลัง สูงพอประมาณ สามารถที่จะให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วยนาฬิกาแข่งขันที่เพิ่มนี้ จะต้องแสดงเวลาการแข่งขันที่เหลือ


4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)


  •  เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องมีควบคุมเครื่องและแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    • ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
    • ไม่แสดงตัวเลขบนเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อไม่มีทีมใดครอบครองบอล
    • ความสามารถในการหยุดและเดินนับถอยหลังอย่างต่อเนื่องเมื่อเครื่องจับเวลา 24 วินาที เดินเวลาต่อจากที่ได้หยุดเวลาไว้





  • เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องติดตั้งดังต่อไปนี้
    • มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องตั้งอยู่ข้างบนเหนือกระดานหลังแต่ละข้าง มีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร ถึง50 เซนติเมตร
    • มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 4 เครื่องให้ติดตั้งไว้ทั้ง 4 มุมของสนาม อยู่ห่างเส้นหลังแต่ละด้าน 2 เมตร
    • มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องให้ติดตั้งโดยการวางไว้ในแนวทแยงมุมตรงข้าม เครื่องหนึ่งวางทางด้านซ้ายของโต๊ะบันทึกคะแนน ซึ่งจะวางใกล้มุม เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทั้ง 2 เครื่อง จะวางห่างจากเส้นแต่ละด้าน 2 เมตร และจากเส้นข้าง 2 เมตร



  • เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทุกเครื่องจะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย


4.3 สัญญาณเสียง (Signals)
ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ คือ

  • สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนนสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลาแข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลานอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลังเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
  • อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดงการสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาทีสัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม


4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard)
ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วยป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  • เวลาการแข่งขัน
  • คะแนน
  • จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
  • จำนวนของเวลานอก


4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet)
ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับ
การแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ

4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers)
ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร
และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)

4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers)
อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนน อุปกรณ์แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตรสูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาด ความกว้าง ยาวและหนาตามที่ ระบุไว้ข้างต้น

4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator)
จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้อง
ถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)

4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

5 เครื่องอำนวยความสะดวก  และอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีปชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้

5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่งขัน

5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ทำด้วยไม้
  • เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
  • เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของเขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสีเดียวกับวงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที


5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม

5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย

5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12 ลูก มีลักษณะและรายละเอียด
เหมือนกันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย

5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมตร
แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์

5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขันที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย


  • ป้ายคะแนนขนาดใหญ่ 2 ชุด ติดตั้งที่ด้านหลังแต่ละด้านของสนาม
    • ป้ายคะแนน ติดตั้งที่กึ่งกลางเหนือสนามขึ้นไป ไม่มีความจำเป็นต้องงดใช้ป้ายคะแนน 2 ชุด
    • แผงควบคุมสำหรับนาฬิกาแข่งขันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข แยกแผงควบคุมสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนนออกจากกัน
    • ป้ายคะแนนต้องประกอบด้วยตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังของนาฬิกา พร้อมสัญญาณเสียงดังมากพอซึ่งจะดังอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
    • นาฬิกาแข่งขันและคะแนนที่แสดงในป้ายคะแนน มีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
    • นาฬิกาทั้งหมดต้องเดินเป็นจังหวะเดียวกันและแสดงจำนวนของเวลาที่เหลือตลอดเกมการแข่งขัน
    • ระหว่าง 60 วินาทีสุดท้ายของแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ จำนวนของเวลาที่เหลือต้องแสดงเป็นวินาที และเป็น1 ส่วน 10 ของวินาที
    • เลือกนาฬิกาอีก 1 เรือน โดยผู้ตัดสินสำหรับเป็นนาฬิกาแข่งขัน
    • ป้ายคะแนน ต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
    • หมายเลขของผู้เล่นแต่ละคนและชื่อ-สกุลของผู้เล่น ถ้าสามารถแสดงได้
    • คะแนนที่แต่ละทีมทำได้ และคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนที่ทำให้ ถ้าสามารถแสดงได้
    • จำนวนครั้งของการฟาล์วทีมจาก 1 ถึง 5 (สามารถหยุดที่ตัวเลข 5)
    • ตัวเลขของช่วงการเล่น จาก 1 ถึง 4 และ E สำหรับช่วงต่อเวลาพิเศษ
    • ตัวเลขของเวลานอกจาก 0 ถึง 3



  • เครื่องจับเวลา 24 วินาที พร้อมนาฬิกาแข่งขันที่ทำใหม่ตามแบบของเดิม และแสงสีแดงสดใสจะติดตั้งเหนือขึ้นไปและอยู่ด้านหลังกระดานหลังทั้ง 2 ข้างมีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร
    • เครื่องจับเวลา 2 วินาที ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาทีและพร้อมด้วยสัญญาณเสียงดังมากพอโดยดังอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที
    • เครื่องจับเวลา 24 วินาที จะต้องจะต่อเชื่อมกับนาฬิกาการแข่งขันเรือนหลัก
    • เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักหยุดเดิน เครื่องนี้จะหยุดเดินด้วย
    • เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักเดินต่อ เครื่องนี้เริ่มเดินจากการควบคุมด้วยมือของผู้ควบคุม
    • สีของตัวเลขของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และนาฬิกาแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องแตกต่างกัน
    • นาฬิกาการแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องมีรายละเอียดตรงกัน
    • หลอดไฟที่อยู่ข้างบนด้านหลังกระดานหลังแต่ละข้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
    • แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับนาฬิกาแข่งขันเรือนหลัก เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้นสำหรับสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
    • แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้น สำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

dgrdhbhyujuk

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

kawin chestttt กล่าวว่า...

เว็บพนันออนไลน์ DUCKBET แทงบอลออนไลน์ คาสิโนออนไลน์ แทงหวยออนไลน์ เว็บไซต์พนันออนไลน์ ที่ดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน สมัครได้ที่ Line : @betfifa (อย่าลืม@)
เว็บพนันออนไลน์

Unknown กล่าวว่า...

...

แสดงความคิดเห็น